เมนู

อรรถกถาทุติยกาลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกาลสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาลา นั่นเป็นชื่อแห่งกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟัง
ธรรมเป็นต้นในกาลนั้น ๆ กาลเหล่านั้น จักแจ่มชัด และจักเป็นไป. บทว่า
อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.
จบอรรถกถาทุติยกาลสูตรที่ 7

8. ปฐมจริตสูตร


ว่าด้วยวจีทุจริต 4


[148] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต 4 นี้ ฯลฯ คือ
มุสาวาโท พูดเท็จ
ปิสุณา วาจา พูดส่อเสียด
ผรุสา วาจา พูดคำหยาบ
สมฺผปฺปลาโป พูดเหลวไหล
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล วจีทุจริต 4.
จบปฐมจริตสูตรที่ 8
ปฐมจริตสูตรที่ 8 ง่ายทั้งนั้น.

9. ทุติยจริตสูตร


ว่าด้วยวจีสุจริต 4


[149] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต 4 นี้ ฯลฯ คือ
สจฺจวาจา พูดจริง
อปิสุณวาจา ไม่พูดส่อเสียด
สณฺหวาจา พูดสุภาพ
มนฺตาภาสา พูดด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล วจีสุจริต 4.
จบทุติยจริตสูตรที่ 9

อรรถกถาทุติยจริตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยจริตสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สณฺหวาจา ได้แก่ วาจาอ่อนโยน. บทว่า มนฺตาภาสา
ได้แก่ เรื่องที่กำหนดด้วยปัญญา ที่เรียกว่ามันตาแล้ว จึงกล่าว.
จบอรรถกถาทุติยจริตสูตรที่ 9